ก่อตั้ง ปีค.ศ. 1881 3 ผู้ก่อตั้ง ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1929 อันดับ 1 มหาวิทยาลัยที่อยาก สมัครสอบเข้า 5 นาที จากสถานีโตเกียว จำนวนนักศึกษา 34,000 คน นักศึกษาต่างชาติ มากกว่า 2,300 คน ศิษย์เก่า 590,000 คน หลักสูตรปริญญาที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ 9 2 ศิษย์เก่า อดีตนายกรัฐมนตรี สำนักงานต่างประเทศ 3 อาจารย์ชาวต่างชาติและอาจารย์ที่มีคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศ 20% 4 วิทยาเขต 10 คณะในระดับปริญญาตรี 16 คณะในระดับบัณฑิตวิทยาลัย เข้าร่วมกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกมากกว่า 290 คน ครองเหรียญ 46 เหรียญ สถาบันต่างประเทศที่มีความร่วมมือกัน 366 แห่ง ใน 57 ประเทศทั่วโลก 14 ศูนย์วิจัยมาตรฐานโลก วิชาภาษาญี่ปุ่นสําหรับนักศึกษาต่าง ชาติ มากกว่า 38 วิชา 230 คาบเรียน หอพักนักศึกษาแบบพักรวม 2 แห่ง ชมรมที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ 330 ชมรม ห้องสมุดเฉพาะมังงะ 2 แห่ง นักศึกษาไปแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ มากกว่า 2,300 คน 330 หลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เปิดกว้างแก่สังคม มาสคอต The 1 อันดับ 1 มหาวิทยาลัยที่ช่วยเหลือเรื่องการหางาน

ก่อตั้ง ปีค.ศ. 1881Classic Yet Innovative —มีประวัติศาสตร์เก่าแก่แต่พร้อมปฏิรูปสู่ความทันสมัย

มหาวิทยาลัยเมจิก่อตั้งขึ้นโดยนักกฎหมายหนุ่ม3คนในปีค.ศ.1881(ปีเมจิที่14) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นปฏิรูปประเทศให้ก้าวหน้าทันสมัยเดิมใช้ชื่อว่า“โรงเรียนกฎหมายเมจิ” นับตั้งแต่นั้นมามหาวิทยาลัยเมจิในฐานะหนึ่งในมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำเพียงไม่กี่แห่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า140ปียังคงก้าวต่อไปในฐานะมหาวิทยาลัยที่นำหน้าความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยโดยไม่ยึดติดกับธรรมเนียมดั้งเดิม
มหาวิทยาลัยเมจิยังคงก้าวนำโลกและยุคสมัยโดยท้าทายสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอภายใต้ปรัชญาที่ว่า “เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเสริมสร้าง “อัตลักษณ์” ของนักศึกษาแต่ละคน”

The former Memorial Hall in 1931
อาคารอนุสรณ์เดิม (ปีค.ศ. 1931)
Today’s Liberty Tower
อาคารลิเบอร์ตี้ทาวเวอร์ (ปัจจุบัน)

3 ผู้ก่อตั้งปณิธานของ 3 นักกฎหมายหนุ่ม ซึ่งได้แก่ ทัตซึโอะ คิชิโมโตะ, โคโซ มิยางิ และ มิซาโอะ ยาชิโระ

มหาวิทยาลัยเมจิเริ่มต้นจากการก่อตั้งเป็นโรงเรียนกฎหมายเมจิในปีค.ศ.1881 (ปีเมจิที่ 14) โดยผู้ก่อตั้ง 3 คนที่เป็นนักกฎหมายหนุ่มวัยยี่สิบตอนปลาย ทั้ง 3 คนมีบ้านเกิดอยู่ต่างจังหวัด ในช่วงความวุ่นวายและการเปลี่ยนแปลงของการปฏิวัติบาคุมัตสึ ได้เดินทางมายังเมืองหลวง ตามคำสั่งของรัฐบาลเมจิในฐานะนักศึกษาคัดเลือก (โคชิงเซ) และศึกษากฎหมายฝรั่งเศส ช่วงแรกที่ก่อตั้งสถาบันได้มีการแบ่งงานรับผิดชอบกันโดยให้ คิชิโมโตะสอนกฎหมายพาณิชย์ฝรั่งเศส มิยางิสอนกฎหมายอาญาญี่ปุ่น ยาชิโระสอนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ทั้ง 3 คน มีความปรารถนาตรงกันคือ “ต้องการสร้างคนหนุ่มสาวที่มีความรอบรู้ผู้จะเข้ารับผิดชอบประชาคมยุคใหม่” “เพื่อสร้างสังคมที่มีอิสรภาพและเคารพในสิทธิส่วนบุคคลให้เป็นจริง” อันเป็นจุดเริ่มต้นของเจตนารมณ์ในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเมจิ คือ “สิทธิเสรีภาพ” “อิสรภาพทางวิชาการและการเป็นผู้นำตนเอง”

 Tatsuo Kishimoto (1851–1912)
ทัตซึโอะ คิชิโมโตะ(1851-1912) เกิดที่จังหวัดทตโทริ กลับประเทศญี่ปุ่นหลังจบปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยปารีสในปีค.ศ.1876 อดีตเคยพักอาศัยอยู่อพาร์ตเม้นต์เดียวกันกับ คินโมจิ ไซองจิ (ต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรี) และดำรงตำแหน่งประธานสมาคมทนายความโตเกียวในปีค.ศ.1897
Kozo Miyagi (1852–1893)
โคโซ มิยางิ (1852-1893) เกิดที่จังหวัดยามางาตะ กลับประเทศญี่ปุ่นหลังจบปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยลียงในปีค.ศ.1880 ถือเป็นผู้บุกเบิกในสาขา “วิชากฎหมายอาญา” ในญี่ปุ่น และได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 1 ในปีค.ศ.1890
Misao Yashiro (1852–1891)
มิซาโอะ ยาชิโระ(1852-1891) เกิดที่จังหวัดฟุกุอิ การก่อตั้งโรงเรียนกฎหมายเมจิจะไม่สามารถเป็นจริงได้หากไม่มียาชิโระ เนื่องจากเป็นผู้มีผลงานด้านการบริหารโรงเรียน ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกการประชุมสภาในสำนักเลขาธิการวุฒิสภาในปีค.ศ.1890 และได้รับการยกย่องว่า “คนญี่ปุ่นคนแรกที่สอนวิชากฎหมายสำหรับคนญี่ปุ่น”

พิพิธภัณฑ์ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1929สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่เปิดกว้างต่อสังคม ในแต่ละปีมีผู้เยี่ยมชม 110,000 คน

ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ เริ่มต้นขึ้นในปี 1929 ปัจจุบันจัดเก็บเอกสารต่างๆถึง 450,000 ชิ้น และได้นำบางส่วนมาจัดแสดงในห้องนิทรรศการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การลงโทษตามกฏหมาย สินค้า และโบราณคดี นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการต่างๆ ในห้องนิทรรศการพิเศษเพื่อแนะนำผลงานด้านการศึกษาและการวิจัยของมหาวิทยาลัยของเมจิ เริ่มเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950 นำหน้าพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในแต่ละปีมีผู้คนประมาณ 110,000 คนจากทั้งในประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศมาเยี่ยมชมในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่เปิดกว้างต่อสังคม นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังมีห้องนิทรรศการแนะนำประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยเมจิ และหอรำลึกคุณอาคุ ยู ผู้เป็นนักเขียนและนักแต่งเพลงชื่อดังที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเมจิ

การจัดแสดงด้านโบราณคดี: ฮานิวะ
การจัดแสดงในห้องนิทรรศการพิเศษ: ค.ศ.2019

อันดับ 1 มหาวิทยาลัยที่อยาก สมัครสอบเข้าJapan’s Most Popular University

ในปัจจุบันที่ญี่ปุ่นประสบปัญหาอัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชากรวัย 18 ปีลดลงเหลือเพียง 1,100,000 คน แต่มหาวิทยาลัยเมจิยังมีผู้สมัครสอบเข้ามากกว่า 100,000 คนต่อเนื่อง 14 ปีซ้อน

* เป็น “มหาวิทยาลัยอันดับ 1 คณะวิชาสายศิลป์ (ในเขตคันโต)” / ข้อมูลจากผลการสำรวจ Brand Power ในการศึกษาต่อ ปี2023 โดยสถาบันวิจัย Recruit Shingaku Souken

5 นาที จากสถานีโตเกียวIn the Heart of Tokyo

“โตเกียว” มหานครแห่งความเป็นสากล มีประชากรถึง 14 ล้านคน ทั้งยังเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การศึกษา และวัฒนธรรมของญี่ปุ่น เป็นแหล่งรวมของข้อมูลและสิ่งต่างๆมหาศาล มีการเปลี่ยนแปลงอันทรงพลังเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่องภายใต้บริบททางวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมสมัยเอโดะ เสมือนสวนสนุกขนาดมหึมาที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้นเร้าใจ มหาวิทยาลัยเมจิก็ตั้งอยู่ ณ ใจกลางของ “โตเกียว” นี้เอง
จากสถานีโตเกียวไปยังสถานีโอจะโนะมิซึซึ่งเป็นสถานีใกล้กับวิทยาเขตซุรุกะไดมากที่สุด ใช้เวลาเดินทางโดยรถไฟฟ้าเพียง 5 นาที จากนั้นเดินจากสถานีโอจะโนะมิซึเพียง 3 นาทีก็ถึงวิทยาเขตซุรุกะได หรือเดินเพียงแค่ 15 นาทีจากย่าน “อากิฮาบาระ” ซึ่งเป็นศูนย์รวมร้านเครื่องใช้ไฟฟ้ามากมายและสวรรค์ของ
ป๊อบคัลเจอร์ญี่ปุ่น นอกจากนี้ทั้ง 3 วิทยาเขตยังตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวกในการเดินทาง โดยสามารถเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเพียงต่อเดียวจากชินจุกุ ใช้เวลา 4-30 นาที

จำนวนนักศึกษา 34,000 คนการรวมตัวของคนหนุ่มสาวที่มีความหลากหลาย

มีนักศึกษา 34,000 คน
เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่แต่มีความพิเศษคือเน้นการเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อย ทั้งยังมีนักศึกษาที่มาจากทุกจังหวัดในญี่ปุ่นและจากทั่วโลก

สัดส่วนนักศึกษาชายหญิง   ชาย:หญิง(2:1)
Tสัดส่วนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา   ระดับปริญญาตรี:ระดับบัณฑิตศึกษา(94:6)

นักศึกษาต่างชาติ มากกว่า 2,300 คนมหาวิทยาลัยในยุคโลกาภิวัตน์ “สัมผัสญี่ปุ่น สัมผัสโลกกว้าง”

มหาวิทยาลัยเมจิให้ความสำคัญกับความเป็นสากลจึงรับนักศึกษาต่างชาติเป็นจำนวนมากทุกปี โดยมีนักศึกษาต่างชาติจากประมาณ 60 ประเทศทั่วโลก มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดสอบให้กับนักศึกษาต่างชาติ การแลกเปลี่ยนนักศึกษากับสถาบันที่มีความร่วมมือ (ระดับมหาวิทยาลัย / ระดับคณะ) และโครงการระยะสั้น เป็นต้น ในส่วนของนักศึกษาภาคปกติ (*นักศึกษาต่างชาติที่เข้าศึกษาเพื่อปริญญาบัตร) 5 อันดับแรกมาจากประเทศจีน (53 %) เกาหลี (26 %) มาเลเซีย ไต้หวัน และอเมริกา

Short-term Japanese Language Program activities: putting on a kimono
ประสบการณ์ลองชุดสวมกิโมโนในโปรแกรมศึกษาภาษาญี่ปุ่นระยะสั้น
Changes in annual number of admitted international students
จำนวนนักศึกษาต่างชาติที่มหาวิทยาลัยรับเข้ามาในแต่ละปี

ศิษย์เก่า 590,000 คนเครือข่ายศิษย์เก่ากระจายอยู่ทั่วโลก

นับตั้งแต่ปีค.ศ.1882ซึ่งเป็นปีแรกที่โรงเรียนกฎหมายเมจิผลิตบัณฑิตออกสู่สังคม เครือข่ายมหาวิทยาลัยเมจิก็แผ่ขยายไปทั่วประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก มหาวิทยาลัยเมจิได้ผลิตบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง ธุรกิจ วัฒนธรรม วงการบันเทิง กีฬา และสื่อสารมวลชน ฯลฯ
ยกตัวอย่างเช่น มาซาโกะ นากาตะ, โยชิโกะ มิบุชิ และ ไอ คุเมะ ซึ่งเป็นทนายความหญิง 3 คนแรกของญี่ปุ่น, ทาซึจิ ฟุเซะ ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนที่ได้รับเหรียญเกียรติคุณจากรัฐบาลเกาหลีเนื่องจากได้อุทิศตนตลอดชีวิตเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ในวงการดนตรีก็มี อาคุ ยูซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์งานเพลงยอดนิยมมากมาย, มาซาโอะ โคกะผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศแห่งชาติจากการแต่งเพลงให้แก่เหล่าศิลปินนักร้องเช่น ฮิบาริ มิโซระ นอกจากนี้ยังมี นาโอมิ อุเอมุระนักปีนเขาสูงห้าทวีปคนแรกของโลก
เครือข่ายศิษย์เก่าอันกว้างขวางซึ่งเป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่จัดเป็นสมบัติล้ำค่าของมหาวิทยาลัยเมจิในปัจจุบัน

พิธีสำเร็จการศึกษา

9 หลักสูตรปริญญาที่สอนเป็นภาษาอังกฤษหลักสูตรปริญญาที่สอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด

มหาวิทยาลัยเมจิมีหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ 9 หลักสูตร วิชาที่สอนด้วยภาษาอังกฤษ (ไม่รวมวิชาภาษา)ในทุกคณะรวมกันมีมากกว่า 870 วิชาและยังคงมุ่งมั่นที่จะมอบการศึกษาที่พร้อมด้วยคุณภาพและปริมาณ

หลักสูตรปริญญาที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ

【ปริญญาตรี】

  • ■ คณะญี่ปุ่นสากลศึกษา (School of Global Japanese Studies) (ตั้งแต่ปีการศึกษา 2011)

【ปริญญาโท】

  • ■ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบชุมชนเมือง (Graduate School of Science and Technology, International Program in Architecture and Urban Design)(ตั้งแต่ปีการศึกษา 2013)
  • ■ คณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรปริญญาโทอินเทอร์แอ็คทีฟร่วมกับมหาวิทยาลัย Universiti Teknologi Malaysia (Graduate School of Business Administration Interactive Master Program with Universiti Teknologi Malaysia)(ตั้งแต่ปีการศึกษา 2013)

【ปริญญาโท (หลักสูตรวิชาชีพเฉพาะ)】

  • ■ คณะ Governance Studies (Graduate School of Governance Studies) (ตั้งแต่ปีการศึกษา 2013)
  • ■ คณะGlobal business (Graduate School of Global Business)(ตั้งแต่ปีการศึกษา 2020)

【ปริญญาเอก】

  • ■ คณะคณิตศาสตร์ขั้นสูง สาขาคณิตศาสตร์ปรากฏการณ์วิทยา (Graduate School of Advanced Mathematical Sciences, Mathematical Sciences Program) (ตั้งแต่ปีการศึกษา 2011)
  • ■ คณะ Global Governance (Graduate School of Global Governance) (ตั้งแต่ปีการศึกษา 2014)
  • ■ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบชุมชนเมือง (Graduate School of Science and Technology, International Program in Architecture and Urban Design) (ตั้งแต่ปีการศึกษา 2017)
  • ■ คณะคณิตศาสตร์ขั้นสูง สาขาวิทยาการสื่อสารแนวหน้า (Graduate School of Advanced Mathematical Sciences, Frontier Media Science Program) (ตั้งแต่ปีการศึกษา 2017)

2 ศิษย์เก่า อดีตนายกรัฐมนตรีนายกรัฐมนตรี 2 ท่าน

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเมจิที่เคยได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 ท่าน คือ ทาเคโอะ มิกิ (นายกรัฐมนตรีคนที่ 66) และโทมิอิจิ มุรายามะ (นายกรัฐมนตรีคนที่ 81)

Takeo Miki (66th Prime Minister)
ทาเคโอะ มิกิ (นายกรัฐมนตรี คนที่ 66)จบการศึกษาคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเมจิในปีค.ศ.1937 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่ออายุ 30 ปี หลังสงครามได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสารเป็นครั้งแรก ต่อมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศตามลำดับ กระทั่งปีค.ศ. 1974 ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง และกฎหมายว่าด้วยการระดมทุนของพรรคการเมือง จึงได้รับฉายาว่า “นายกมือสะอาด”
Tomiichi Murayama (81st Prime Minister)
โทมิอิจิ มุรายามะ (นายกรัฐมนตรี คนที่ 81)จบการศึกษาภาควิชารัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเมจิในปีค.ศ.1946 ลงสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปีค.ศ.1972 และได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงมากเป็นอันดับ 1 ในปีนั้น ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปีค.ศ.1994 ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งได้เกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่หรือเหตุการณ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการภาวะวิกฤตของชาติ เช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิน-อาวาจิ หรือ เหตุการณ์แก๊สพิษซารินในสถานีรถไฟใต้ดิน เป็นต้น

3 สำนักงานต่างประเทศกระชับความสัมพันธ์กับภูมิภาค ASEAN

มหาวิทยาลัยเมจิมีสำนักงานในต่างประเทศ 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเมจิศูนย์อาเซียน (Meiji University ASEAN Center) (อยู่ภายในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร / ก่อตั้งในปีค.ศ. 2013), สำนักงานกรุงปักกิ่ง (Meiji University Beijing Office) (เขต Chaoyang กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน / ก่อตั้งในปีค.ศ. 2011) และMalaysia Satellite Office (อยู่ภายใน Universiti Teknologi Malaysia / ก่อตั้งในปีค.ศ. 2007)
มหาวิทยาลัยเมจิสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน15แห่ง โดยมีกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม)เป็นหลัก มีมหาวิทยาลัยเมจิศูนย์อาเซียนทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาโครงการแลกเปลี่ยนต่างๆ เช่น “Innovative FD Workshop” และ “CLMV Student Conference” เป็นต้น

Innovative FD Workshop
Innovative FD Workshop
The Meiji University ASEAN Center within Srinakharinwirot University arranges visits to such places as the five most prestigious universities and National Assembly of Thailand
มหาวิทยาลัยเมจิศูนย์อาเซียนที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อาจารย์ชาวต่างชาติและอาจารย์ที่มีคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศ 20%คณาจารย์ที่มีศักยภาพในยุคโลกาภิวัตน์

มหาวิทยาลัยเมจิมีอาจารย์ประจำประมาณ1,000คนโดยสัดส่วนของ“อาจารย์ชาวต่างชาติและอาจารย์ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ” อยู่ที่ประมาณ 20% ของอาจารย์ประจำทั้งหมด
เพื่อยกระดับการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษและหลักสูตรปริญญาภาคภาษาอังกฤษให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยเมจิเปิดรับอาจารย์ชาวต่างชาติและอาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศและสามารถสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ เข้าเป็นอาจารย์ประจำ

4 วิทยาเขตมหาวิทยาลัยใจกลางเมืองหลวง

มหาวิทยาลัยเมจิตั้งอยู่ใจกลางกรุงโตเกียว มีวิทยาเขต 4 แห่ง ได้แก่ วิทยาเขตซุรุกะได (Surugadai) วิทยาเขตอิซุมิ (Izumi) วิทยาเขตอิคุตะ (Ikuta) และวิทยาเขตนากาโนะ (Nakano) โดยที่นักศึกษาคณะสายศิลปศาสตร์ (ยกเว้น คณะญี่ปุ่นสากลศึกษา) ชั้นปีที่ 1-2 เรียนที่วิทยาเขตอิซุมิ นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 เรียนที่วิทยาเขตซุรุกะได นักศึกษาคณะสายวิทยาศาสตร์ (คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและคณะเกษตรศาสตร์) เรียนที่วิทยาเขตอิคุตะ นักศึกษาคณะญี่ปุ่นสากลศึกษาและคณะคณิตศาสตร์สหวิทยาการเรียนที่วิทยาเขตนากาโนะ

Surugadai Campus
วิทยาเขตซุรุกะได
Nakano Campus
วิทยาเขตนากาโนะ

10 คณะในระดับปริญญาตรี 16 คณะในระดับบัณฑิตวิทยาลัยมีคณะระดับปริญญาตรีและบัณฑิตวิทยาลัยที่อยากเข้าศึกษา

มหาวิทยาลัยเมจิเป็นมหาวิทยาลัยครบวงจรที่ผสมผสานคณะวิชาสายศิลป์และสายวิทยาศาสตร์ไว้ด้วยกันประกอบด้วย 10 คณะในระดับปริญญาตรีและ 16 คณะในระดับบัณฑิตวิทยาลัย เป็นชุมชนแห่ง "ความรู้" ที่ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อตอบโจทย์ความสนใจทางวิชาการด้านต่างๆซึ่งครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชา ทั้งยังมีสภาพแวดล้อมพร้อมเสริมสร้างให้นักศึกษามีวิสัยทัศน์กว้างไกลสามารถก้าวข้ามกำแพงสาขาวิชา

คณะนิติศาสตร์ / คณะพาณิชยศาสตร์ / คณะรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ / คณะศิลปศาสตร์ / คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / คณะเกษตรศาสตร์ / คณะบริหารธุรกิจ / คณะสารสนเทศและการสื่อสาร / คณะญี่ปุ่นสากลศึกษา / คณะคณิตศาสตร์สหวิทยาการ

Agricultural training at Kurokawa Field Science Center (School of Agriculture)
【คณะเกษตรศาสตร์】การฝึกงานการเกษตร ณ ฟาร์มคุโรกาวะ
Practical programming (School of Interdisciplinary Mathematical Sciences)
【คณะคณิตศาสตร์สหวิทยาการ】การอบรมโปรแกรมมิ่ง

เข้าร่วมกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกมากกว่า 290 คน ครองเหรียญ 46 เหรียญเมจิเจ้าแห่งการกีฬา ก้าวไปข้างหน้า อย่างมั่นคง

นับตั้งแต่ก่อตั้งชมรมกีฬา 5 ชมรมในปีค.ศ.1905 ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเมจิมีชมรมกีฬาต่างๆถึง 46 ชมรม เป็นผู้นำโลกกีฬามหาวิทยาลัยและมีส่วนร่วมพัฒนาวงการกีฬามหาวิทยาลัยมาโดยตลอด
ยกตัวอย่างเช่น กีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกเริ่มต้นจากการได้เข้าแข่งขันครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกครั้งที่ 7 ณ กรุงแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม (ปีค.ศ.1920) ทั้งนี้มีนักกีฬาและบุคลากรจากมหาวิทยาลัยเมจิกว่า 290 คนเข้าร่วมในโอลิมปิกฤดูร้อนและฤดูหนาว โดยสามารถคว้าเหรียญรางวัลได้ถึง 46 เหรียญ (17 เหรียญทอง, 13 เหรียญเงิน, 16 เหรียญทองแดง) ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่โตเกียวปี 2020ที่ผ่านมา ฮายาโตะ มิซุทานิ (บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์สำเร็จการศึกษาในปี 2013) เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสประเภทคู่ผสม และมาซาโตะ โมริชิตะ (บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ สำเร็จการศึกษาในปี 2020) เข้าร่วมการแข่งขันเบสบอลและได้รับเหรียญทอง สำหรับการแข่งขันเทเบิลเทนนิสประเภททีมชาย ฮายาโตะ มิซุทานิและทาคากิ นิวะ (บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์สำเร็จการศึกษาในปี 2017) ได้รับเหรียญทองแดง นอกจากนี้ วะคะบะ ฮิกุจิ ซึ่งเข้าร่วมแข่งขัน
สเก็ตลีลาประเภททีมในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2022 ที่กรุงปักกิ่งได้รับรางวัลเหรียญทองแดง
นอกเหนือจากที่กล่าวมา มหาวิทยาลัยยังได้ผลิตนักกีฬาอาชีพจํานวนมาก เช่น นักเบสบอล นักฟุตบอล ฯลฯ

The school color of bluish purple: the color symbolizes Meiji’s loftiest aim of the desire to achieve.
สีม่วงอมกรมท่าคือสีประจำสถาบัน (สีม่วงเข้มคือสีระดับสูงสุดของการแบ่งสีแบบญี่ปุ่น สื่อความหมายถึง “ความมุ่งหวังที่จะพัฒนาให้ดีขึ้น” ของมหาวิทยาลัยเมจิ)
Rugby is part of the Meiji tradition.
ชมรมรักบี้อันเก่าแก่

สถาบันต่างประเทศที่มีความร่วมมือกัน 366 แห่ง ใน 57 ประเทศทั่วโลกเครือข่ายทั่วโลก

มหาวิทยาลัยยอร์ค (ประเทศแคนาดา) คือ สถาบันที่ทำข้อตกลงความร่วมมือเป็นแห่งแรกในปีค.ศ.1986 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการร่วมวิจัยและการแลกเปลี่ยนนักศึกษา จากนั้นเป็นต้นมาจำนวนสถาบันต่างประเทศที่มีความร่วมมือกันได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
นอกเหนือจากส่งนักศึกษาไปศึกษาต่อยังต่างประเทศแล้ว มหาวิทยาลัยเมจิยังให้ความสำคัญกับการรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยที่มีความร่วมมือด้วยเช่นกัน โดยในแต่ละปีมีนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวต่างชาติราว 400 คนมาเรียนในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
หอพักสำหรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวต่างชาติมีทั้งแบบที่พักรวมกับนักศึกษาญี่ปุ่นอย่าง Meiji University Global Village หรือแบบที่มีห้องพักสไตล์ญี่ปุ่นที่ทำให้นักศึกษาสามารถสัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่าง Izumi International House เป็นต้น

Courtesy visit to a partner institution (University of Reims Champagne-Ardenne)
การมาเยือนของมหาวิทยาลัยที่มีความร่วมมือ (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
Changes in number of overseas partners
จำนวนสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่มีความร่วมมือ

14 ศูนย์วิจัยมาตรฐานโลกส่งเสริมการวิจัยมาตรฐานโลก

สำนักยุทธศาสตร์การวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญาได้กำหนดสาขาสำคัญเพื่อการวิจัยและจัดตั้งศูนย์วิจัยทั้งหมด 14 แห่งเพื่อส่งเสริมการวิจัยมาตรฐานสากล ทั้งได้ส่งเสริมการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยและองค์กรในต่างประเทศ โดย 1 ใน 14 สถาบันดังกล่าวนี้ได้แก่ สถาบันวิจัยทรัพยากรชีวภาพนานาชาติ (MUIIBR) ซึ่งมีผู้อำนวยการคือ ศาสตราจารย์ ฮิโรชิ นางาชิมะ แห่งคณะเกษตรศาสตร์ บุคคลท่านแรกที่คิดค้นเทคโนโลยีการโคลนนิ่งเซลล์สุกร นอกจากนี้ยังมีสถาบันวิจัยในสาขาอื่นๆ เช่น Meiji Institute for Advanced Study of Mathematical Sciences (MIMS), Meiji University Research Institute for the History of Global Arms Transfer (RIHGAT), Meiji University International Institute for Materials with Life Functions, Meiji Renewable Energy Laboratory (MREL) เป็นต้น

Manipulating fertilized eggs in pig cloning (MUIIBR)
การจัดการไข่ผสมเทียมเพื่อการผลิตสุกรโคลน (MUIIBR)
Advanced Plant Factory Research Center, Ikuta Campus
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพื้นฐานโรงงานผลิตพืชในวิทยาเขตอิคุตะ

วิชาภาษาญี่ปุ่นสําหรับนักศึกษาต่าง ชาติ มากกว่า 38 วิชา 230 คาบเรียนเสริมสร้างทักษะภาษาญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการศึกษาที่มีความเฉพาะด้านสูง

วิชาภาษาญี่ปุ่นสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่จัดโดยศูนย์การศึกษาภาษาญี่ปุ่นและแต่ละคณะของมหาวิทยาลัยมีจำนวนกว่า 38 วิชา 230 คาบเรียนเพื่อช่วยให้นักศึกษาต่างชาติมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนได้อย่างเต็มที่เมื่อต้องเรียนร่วมกับนักศึกษาชาวญี่ปุ่น นอกจากนี้
ยังมีการแบ่งระดับชั้นเรียนต่างๆเริ่มตั้งแต่ระดับพื้นฐานสำหรับนักศึกษาต่างชาติรวมถึงนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่เรียนอยู่ในคณะต่างๆ มีวิชาครบครัน เช่น วิชาการพูด การใช้ภาษา การอ่านจับใจความ การฝึกอ่านเร็ว การเขียน เพื่อให้เป็นการเรียนภาษาญี่ปุ่นที่มีคุณภาพสูงและครอบคลุมในหลากหลายสาขาความรู้
มีการจัด“การประกวดสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่นโดยนักศึกษาต่างชาติชิงถ้วยรางวัลอธิการบดีมหาวิทยาลัย”ตั้งแต่ปีค.ศ.1996ซึ่งเป็นเวทีแสดงผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนภาษาญี่ปุ่นโดยทุกปีจะมีนักศึกษาต่างชาติจำนวนมากเข้าร่วมประกวดสุนทรพจน์ในหัวข้อต่างๆเป็นภาษาญี่ปุ่น

หอพักนักศึกษาแบบพักรวม 2 แห่ง“พื้นที่แห่งการเรียนรู้” เมื่อนักศึกษาต่างชาติและนักศึกษาญี่ปุ่นมาใช้ชีวิตร่วมกัน

มีหอพักนักศึกษาแบบพักรวม 2 แห่ง ได้แก่ “Meiji Global Village (MGV) ” ในวิทยาเขตอิซุมิ และ Komae International House ซึ่งเป็นหอพักที่สะดวกในการเดินทางไปยังวิทยาเขตอิคุตะ
ในหอพักแบบพักรวมนี้ มีระบบRA (Resident Assistant) ที่คอยให้ความช่วยเหลือนักศึกษาต่างชาติเมื่อแรกเข้าและการใช้ชีวิตประจําวัน รวมทั้งการจัดกิจกรรมต่างๆภายในหอพัก หอพักของมหาวิทยาลัยนี้ไม่ได้เป็นเพียงสถานที่พักอาศัย แต่ยังเป็น “พื้นที่แห่งการเรียนรู้” ในฐานะชุมชนนานาชาติที่นักศึกษาญี่ปุ่นและนักศึกษาต่างชาติใช้เวลาร่วมกันเพื่อศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม

Exterior view of MGV
ภาพภายนอก MGV
Shared kitchen in MGV
ภาพภายนอก Komae International House

ชมรมที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ 330 ชมรมฝึกฝน “ทักษะของแต่ละคน” ผ่านกิจกรรมชมรม

นักศึกษาจากต่างคณะและต่างชั้นปีที่มีความสนใจและมีจุดมุ่งหมายเดียวกันสามารถมาทำกิจกรรมชมรมต่างๆร่วมกันได้ เช่น กิจกรรมชมรมกีฬา กิจกรรมชมรมด้านวัฒนธรรมประเพณี ไปจนถึงกิจกรรมชมรมที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครเช่น“ชมรมระคุโงะ(ศิลปะการพูดแบบญี่ปุ่น)” มีนักระคุโงะที่มีชื่อเสียงจำนวนมากเคยเป็นสมาชิกอยู่ มีนักศึกษา 17,000 คน หรือนักศึกษามากกว่า 1 ใน 2 คนที่เข้าร่วมชมรมด้านกีฬาหรือชมรมต่างๆเหล่านี้อยู่
นักศึกษาต่างชาติก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆได้อย่างสะดวกเนื่องจากทำเลของโตเกียวนั้นเอื้ออำนวยและยังได้สัมผัสวัฒนธรรมชมรมอันเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่น เป็นการฝึกฝน“ทักษะของแต่ละคน”ผ่านกิจกรรมนอกห้องเรียน

Jazz performance: delivering the excitement of music
การบรรเลงเพลงแจ๊ส : ส่งความประทับใจผ่านเสียงเพลง
Dance: challenges of a wide range of dance genres
การเต้นรำ : มาลองเต้นรำหลากหลายแบบ

ห้องสมุดเฉพาะมังงะ 2 แห่งห้องสมุดมังงะในมหาวิทยาลัย เป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมยอดฮิตของญี่ปุ่น มีคอลเลคชั่นหนังสือมากถึง 400,000 เล่ม

มหาวิทยาลัยเมจิมีห้องสมุดมังงะ 2 แห่ง แห่งแรกคือ “ห้องสมุดอนุสรณ์โยชิฮิโระ โยเนซาวะ (Yoshihiro Yonezawa Memorial Library)”เป็นห้องสมุดเฉพาะด้านมังงะและวัฒนธรรมย่อยก่อตั้งขึ้นในวิทยาเขตซุรุกะไดในปีค.ศ.2009 มีหนังสือและเอกสารจำนวน 140,000 เล่มที่โยชิฮิโระ โยเนซาวะศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเมจิมอบให้ไว้ และแห่งที่2 คือ“ห้องสมุดมังงะร่วมสมัย”ซึ่งมีคอลเลคชั่นหนังสือของโทชิโอะ ไนกิ ผู้ก่อตั้งห้องสมุดมังงะแห่งแรกของญี่ปุ่น

มังงะ แอนนิเมชั่น เกม มีคุณค่าสำคัญทั้งเชิงวิชาการและเชิงวัฒนธรรมเป็นกระจกสะท้อนไลฟ์สไตล์ ความเป็นไปตามยุคสมัยและสังคมของญี่ปุ่น ปัจจุบันได้รับความสนใจในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมที่ญี่ปุ่นเผยแพร่ออกไปสู่สากล มหาวิทยาลัยเมจิจึงส่งเสริมการค้นคว้าศึกษาความเป็นมาและเหตุผลที่ได้รับความสนใจให้เกิดความกระจ่างชัดเจน และยังดำเนินการรวบรวมเอกสารต่างๆอย่างเป็นระบบ โดยมีคณะญี่ปุ่นสากลศึกษาเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยในสาขาวิชานี้
นอกจากห้องสมุดมังงะแล้ว ในวิทยาเขตทั้ง 4 แห่งยังมีห้องสมุดมหาวิทยาลัยซึ่งรวบรวมหนังสือไว้ถึง 2.7 ล้านเล่ม

Yoshihiro Yonezawa Memorial Library of Manga and Subcultures (special library)

ห้องสมุดเฉพาะมังงะและวัฒนธรรมย่อย “ห้องสมุดอนุสรณ์โยชิฮิโระ โยเนซาวะ”

นักศึกษาไปแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ มากกว่า 2,300 คนนักศึกษามหาวิทยาลัยเมจิ Go Forward, Go Global

นักศึกษามีทางเลือกหลากหลายสำหรับการไปศึกษาในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโครงการแลกเปลี่ยนกับสถาบันต่างประเทศตามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (ระหว่างมหาวิทยาลัย/ระหว่างคณะ) หรือโปรแกรมระยะสั้นในต่างประเทศ ทุกๆปีมีนักศึกษาเป็นจำนวนมากเลือกประเทศหรือภูมิภาค ช่วงเวลา โปรแกรมที่ตนเองสนใจและเดินทางไปยังที่ต่างๆทั่วโลกเพื่อเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของตน
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมการไปศึกษาในต่างประเทศเฉพาะของแต่ละคณะด้วย เช่น การฝึกอบรมด้านกฎหมายช่วงฤดูร้อนที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ Corpus Christi College (ประเทศอังกฤษ) ของคณะนิติศาสตร์ โปรแกรมความเข้าใจวัฒนธรรมการเกษตรสากล (ประเทศไทย) ของคณะเกษตรศาสตร์ และ การฝึกงานเพื่อการศึกษากับWalt Disney World (ประเทศสหรัฐอเมริกา) ของคณะญี่ปุ่นสากลศึกษา

University of Cambridge Corpus Christi College Summer Law Course (UK) at the School of Law
【คณะนิติศาสตร์】 การฝึกอบรมด้านกฎหมายช่วงฤดูร้อนที่ Corpus Christi College มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (ประเทศอังกฤษ)
Changes in the number of students studying abroad
จำนวนนักศึกษาที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศ

330 หลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เปิดกว้างแก่สังคมมีบุคคลทั่วไปเข้าศึกษา 19,000 คนต่อปี

“อาคารLibertyAcademy” เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีพที่สร้างขึ้นเพื่อนำทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเมจิมาคืนกำไรสู่สังคม เปิดสอนหลักสูตรอบรมต่างๆสำหรับประชาชนทั่วประเทศ เช่น “หลักสูตรการอบรมด้านศิลปศาสตร์และวัฒนธรรม” หรือ “โปรแกรมด้านธุรกิจ” นอกเหนือจากหลักสูตรแบบที่เรียนในชั้นเรียนแล้ว ยังมีแบบถ่ายทอดสด แบบOn-demand แบบวิดีโอหลังสอนเสร็จสำหรับผู้ขาดเรียน แบบวิดีโอที่สามารถดูย้อนหลังได้และแบบไฮบริดที่ผสมผสานการเรียนในชั้นเรียนและการเรียนออนไลน์ไว้ด้วยกัน เพื่อให้สามารถเลือกเรียนในรูปแบบที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ตนเองได้
นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตรสำหรับผู้ใหญ่วัยทำงานในแต่ละหน่วยงานของมหาวิทยาลัย เช่น “Smart Career Programสำหรับสตรี” ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สนับสนุนการกลับมาทำงานและความก้าวหน้าในอาชีพของผู้หญิง หรือ “Pre-MBA Programของมหาวิทยาลัยเมจิ” ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สอนทักษะทางธุรกิจที่นำไปใช้ได้จริงอย่างครอบคลุม ตลอดจนหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิตอื่นๆสำหรับประชาชนในท้องถิ่น

Academy Common, main site for adult education
อาคารหลัก Academy Common

มาสคอต The 1มาสคอตหนึ่งเดียวในดวงใจ “เมจิโร่”

เกิดวันที่ 17 มกราคม (วันก่อตั้งมหาวิทยาลัย) ไม่ปรากฏเพศ มีตำนานกล่าวว่า เกิดในป่าแห่งหนึ่งที่จังหวัดทตโทริ จังหวัดยามางาตะ หรือจังหวัดฟุกุอิ(ทั้ง3จังหวัดคือบ้านเกิดของผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย)
“เมจิโร่”มาสคอตอย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยเมจิหมายถึง“นักปราชญ์แห่งป่าใหญ่”ซึ่งมีต้นแบบจากนกฮูกมีปีกเป็นสีประจำสถาบันคือสีม่วงอมกรมท่า มีดวงตากลมโตที่มองได้อย่างกว้างไกลเป็นเอกลักษณ์ ที่มาของชื่อคือ “เมจิ”+“ฟุกุโร่ (นกฮูก)”
เมจิโร่ชอบร่วมงานอีเวนท์และงานคอสเพลย์ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆในมหาวิทยาลัย จนเป็นที่รู้จักตามสื่อต่างๆ

Meijiro with Tokyo Skytree in the background. Everyone’s idol, Meijiro
เมจิโร่ ไอดอลของทุกคน
Meijiro loves cosplay.
เมจิโร่ใน 47 จังหวัด

อันดับ 1 มหาวิทยาลัยที่ช่วยเหลือเรื่องการหางานเรียนเมจิมีงานทำ

มหาวิทยาลัยเมจิเป็นที่รู้จักกันดีว่า“เรียนเมจิมีงานทำ”มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนการวางแผนอาชีพที่เหมาะกับแต่ละบุคคลอย่างเต็มที่ โดยในแต่ละปีจะให้คำแนะนำนักศึกษาเป็นรายบุคคลกว่า 22,000 ครั้ง และจัดสัมมนาตลอดจนกิจกรรมแนะแนวกว่า 300 รายการ นอกจากนี้ทุกปียังจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือการหางานสำหรับนักศึกษาต่างชาติโดยเฉพาะเพื่อให้เข้าใจความต้องการบริษัทผู้จ้างงานมีการจัดอบรม“การแนะแนวเพื่ออธิบายถึงวิธีการหางานในญี่ปุ่น” “การวิเคราะห์ตนเอง” “การเตรียมใบสมัครงาน” “ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ” “การเตรียมความพร้อมในการสอบข้อเขียน” “งานพบปะกับผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าทำงานและศิษย์เก่าที่เป็นนักศึกษาต่างชาติ” ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นจัด “สัมมนาวิเคราะห์บริษัทและอุตสาหกรรมโดย 9 มหาวิทยาลัย” (สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และบัณฑิตศึกษาชั้นปีที่ 1) และ “งาน Job Fair จัดโดย 9 มหาวิทยาลัย” (สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และบัณฑิตศึกษาชั้นปีที่ 2) เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการจับคู่กับบริษัทต่างๆ

* อันดับ 1 “มหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับการหางานทำ” (13 ปีซ้อนจนถึงปัจจุบัน ประเมินโดยครูแนะแนวการศึกษาต่อของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย):ข้อมูลจาก“อันดับการค้นหามหาวิทยาลัย ปี 2023” ของบริษัท Daigaku Tsushin

บริษัทที่รับนักศึกษาต่างชาติเข้าทำงาน (ข้อมูลบางส่วน)

บริษัท ไอบีเอ็ม เจแปน ดิจิตอล เซอร์วิส จำกัด/ บริษัท ไอบีเอ็ม เจแปน จำกัด/ บริษัท ฟูจิตสึ จำกัด/ บริษัท แอคเซนเจอร์ คอร์ปอเรชั่น/ บริษัท อเมซอน เจแปน G.K. / บริษัท ไมครอน เมมโมรี่ จำกัด/ บริษัท มิตซูบิชิอิเล็กทริก จำกัด/บริษัท อี บิซิเนส จำกัด/ บริษัท เอะบาระ คอร์ปอเรชั่น/ บริษัท ซัน แอสเตอริสก์ จำกัด/ บริษัท TIS จำกัด/ บริษัท TDK จำกัด/ บริษัท ไอบีเอ็ม เจแปน ซิสเต็มเอ็นจิเนียรี่ง จำกัด/ บริษัท เจแปนแอร์ไลน์ จำกัด/ บริษัท ทาทา คอนซัลแตนซี เซอร์วิส เจแปน จำกัด/ บริษัท ฮิตาชิ แชนแนล โซลูชั่น คอร์ปอเรชั่น/ บริษัท ฟูจิ ซอฟต์ จำกัด/ บริษัท EY สแตรเตอจี้ แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด/ บริษัท คาลบี้ จำกัด/ บริษัท โคเซ่ จำกัด/ บริษัท โคนิก้า มินอลต้า จำกัด/ ซันโทรี่ กรุ๊ป/ บริษัท เอ็มโอแอล โลจิสติกส์ จำกัด เป็นต้น

Employment and career guidance
การแนะแนวเพื่อการหางานและการวางแผนหลังจบการศึกษา
Career Center staff at all four campuses provide student counseling.
เจ้าหน้าที่ศูนย์สนับสนุนด้านการงานอาชีพคอยให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาทั้ง 4 วิทยาเขต